ข่าวประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมสร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ (NEC DIPROM) แหล่งบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ขอเชิญเข้าร่วมอบรมทรัพย์สินทางปัญญา กิจกรรม การสร้างพี่เลี้ยง (Coach) ยุวผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการ DIP E-Service แหล่งบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์
IMG-LOGO

ระเบียบ/ข้อบังคับชมรม

IMG


  • คุณสมบัติสมาชิกชมรม NEO-Club (Neo- Entrepreneur origination Club)
    • 1. เป็นนิสิต นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย ฯ ที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจ
    • 2. เป็นผู้ที่มีแรงจูงใจ มีแนวคิด และตั้งใจ ที่จะเป็นผู้ประกอบการ
    • 3. เป็นทายาทธุรกิจ หรือปัจจุบันกำลังดำเนินธุรกิจของตนเอง
    • 4. มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะดำเนินการตามแผนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
    • 5. มีความพร้อมในการเข้ารับการอบรมและร่วมกิจกรรมการบ่มเพาะที่ทาง NSRUBI จัดให้

    เงื่อนไขในการเป็นสมาชิกชมรม NEO-Club (Neo- Entrepreneur origination Club)
    • 1. สมาชิกชมรม จะต้องมีความสนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมหรือมีความชอบในเรื่องของการทำธุรกิจ และมีความต้องการที่จะเป็นผู้ประกอบการใหม่
    • 2. สมาชิกชมรมจะต้องเข้าร่วมประชุม และต้องเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมเป็นประจำ
    • 3. สมาชิกชมรมควรมีการแสดงความคิดเห็น เสนอกิจกรรมที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อการเข้าร่วมบ่มเพาะวิสาหกิจ

    สิทธิประโยชน์ของสมาชิกชมรม NEO-Club (Neo- Entrepreneur origination Club)
    • 1. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการในระดับต่าง ๆ ในกรณี NSRUBI มีความเห็นว่าสมาชิกพร้อมที่จะเปิดตลาด
    • 2. สามารถเข้ารับการอบรม/สัมมนา และพัฒนาศักยภาพตามความเหมาะสม
    • 3. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงานทั้งในส่วนของชมรม NEO-Club และ NSRUBI ตามความเหมาะสม
    • 4. เพิ่มจำนวนนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการมากขึ้น
    • 5. นักศึกษาจะเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่มีศักยภาพ ทำให้เกิดรายได้เป็นของตนเองมากขึ้น
    • 6. นักศึกษามีแหล่งฝึกงานทางธุรกิจ และการเขียนแผนธุรกิจ เพื่อสามารถให้ในการกู้เงินจากแหล่งเงินทุน “กองทุนตั้งตัวได้” หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ
    • 7. นักศึกษาจะได้รับการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบัญชีการเงิน การตลาด การผลิต ฯลฯ และ ที่สำคัญคือมีพี่เลี้ยงที่คอยให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแก่สมาชิกหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (NSRUBI)
    • 8. สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่เหมาะสม

    รูปแบบ/วิธีการจัดกิจกรรมของชมรม “Neo-Club” : (Neo Entrepreneur Origination Club) ประชุมแลกเปลี่ยนซักถาม
    • 1. การอบรม/สัมมนาเชิงปฏิบัติการ
    • 2. การศึกษาดูงานรูปแบบธุรกิจต่าง ๆ
    • 3. การสร้างแผนธุรกิจ
    • 4. การจัดหาผู้ประกอบการใหม่ และผู้ร่วมลงทุนทางธุรกิจ
    • 5. การสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางธุรกิจการจัดนิทรรศการอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

    ระเบียบและข้อปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม“Neo-Club” : (Neo Entrepreneur Origination Club)
    • 1. รับทราบนโยบาย และเข้าใจอย่างถ่องแท้ในนโยบาย วัตถุประสงค์ ระเบียบและข้อบังคับ ตลอดจน วิธีดำเนินกิจกรรมนักศึกษาของ “Neo-Club” : (Neo Entrepreneur Origination Club)
    • 2. ดูแลให้คำปรึกษาชมรม ฯ ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
    • 3. ส่งเสริมให้นักศึกษาผู้ประกอบการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในกิจกรรมชมรม ฯ นำไปสู่บริษัทเริ่มต้น (Start-up Companies) ที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
    • 4. ให้คำปรึกษาในการเขียนแผนธุรกิจ โครงการ/กิจกรรมนักศึกษาผู้ประกอบการรุ่นใหม่
    • 5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมชมรม “Neo-Club” : (Neo Entrepreneur Origination Club) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมนักศึกษาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และคิดค้นหนทางที่จะปรับปรุงกิจกรรมนักศึกษาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ตนเองรับผิดชอบ
    • 6. ประสานงานเรื่องงบประมาณและการใช้เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
    • 7. ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปอย่างประหยัดไม่ขัดกับระเบียบ
    • 8. ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ประเมินผลกิจกรรมนักศึกษาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่ตนเอง รับผิดชอบ
    • 9. มีกิจกรรมทำอย่างต่อเนื่อง และรับผิดชอบต่อผลเสียหายอันอาจเกิดขึ้นจากการประกอบ กิจกรรมนักศึกษาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นไปตามความเห็นชอบของตน
    • 10. เสนอผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมผ่านเว็บไซต์กิจกรรมหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และปรับปรุงเว็บไซต์หน้าประชาสัมพัน์ของชมรม ฯ อยู่เสมอ
    • 11. สรุปผลการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ พร้อมงบประมาณ

    อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม “Neo-Club” : (Neo Entrepreneur Origination Club)
    • 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนพัฒน์ วัฒนชัยธรรม    อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ/กรรมการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    • 2. ดร.ไกรวิญช์ ดีเอม                                           อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
    • 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รพีพัฒน์ มั่นพรม             อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
    • 4. อาจารย์เอกสิทธิ์  สิทธิวะ                                อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนาพร วัฒนชัยธรรม   อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ/ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    • 6. นางสาวนิชารี ปรีชาชาญ                                ผู้ช่วยผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    • 7. นางสาวธนาภรณ์ จั่นแจ้ง                                ผู้ช่วยผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์