ข่าวประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญเข้าร่วมอบรม ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมสร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ (NEC DIPROM) แหล่งบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ขอเชิญเข้าร่วมอบรมทรัพย์สินทางปัญญา กิจกรรม การสร้างพี่เลี้ยง (Coach) ยุวผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการ
IMG-LOGO

โครงการ UBICO

IMG

ชื่อโครงการ โครงการอุดหนุนการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator)

  •          สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้เริ่มโครงการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator / UBI) โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทุกหน่วย UBI ทำหน้าที่บ่มเพาะธุรกิจเพื่อให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ (Entrepreneurs) พัฒนาสู่บริษัทจัดตั้งใหม่ (Start up Companies) และเสริมสร้างศักยภาพให้เข้มแข็งทั้งด้าน Business Plan & Technology Development of Product จากสภาพแวดล้อมทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ยกระดับเป็นบริษัทเต็มรูปในอนาคต (Spin off Companies) รวมทั้งเป็นช่องทางนําผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์โดยคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาสู่กระบวนการใช้งานเชิงพาณิชย์ สร้างวงจรรายได้ ผลประโยชน์กลับ สู่สถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์ (Result base) สู่เป้าหมายการพัฒนาขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน และเห็นว่าการร่วมมือในการให้ความร่วมมือในด้านวิชาการ ข้อมูลงานวิจัย และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดการผลักดันด้านธุรกิจการค้าแล้ว เราจำเป็นต้องมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วย UBI ขึ้นในเขตภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งจะมีสถาบัน ทางการศึกษาที่มีศักยภาพเข้าร่วมจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ อยู่ทั้งสิ้น 6 แห่ง คือ 1. สถานบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2.หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 4. หน่วยบ่มเพราะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  5. หน่วยบ่มเพาะวิสาหิจมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และ 6. หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  •    
  •         สถานการณ์ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator, UBI) เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ก่อให้เกิดการก่อตั้งบริษัทใหม่ (start-up company) ที่มีอนาคตเชิงธุรกิจ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการบ่มเพาะอย่างเป็นระบบแล้ว ก็จะหลุดออกจาก หน่วยบ่มเพาะไปเป็นบริษัทที่เรียกว่า spin-off company ที่มีความเข้มแข็งพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจและเติบโตต่อไป จนสามารถส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ข้อมูลจากสมาคมบ่มเพาะวิสาหกิจแห่งชาติ (The National Business Incubator Association, NBIA) ของสหัฐอเมริกาได้ระบุถึงตัวเลข ที่น่าสนใจที่ว่าบริษัทที่ก่อตั้งใหม่จำนวน 4 ใน 5 บริษัท ที่ใช้วิธีการลงทุนเองทั้งหมด จะปิดกิจการลงในระยะ 5 ปีแรก ในขณะที่ 80% ของบริษัทที่ก่อให้เกิดการบ่มเพาะยังคงสามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างมั่นคงในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ดังนั้น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจจึงได้มีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

  •           หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจฯ มีความพร้อมด้านสถานที่ในการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ระบบภายในที่สมบูรณ์ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานที่ทันสมัยในการดำเนินงานทางธุรกิจ ความสะดวกและความคล่องตัวในการเข้าถึงแหล่งความรู้ในห้องสมุด ห้องปฏิบัติงาน ในแต่ละสาขาธุรกิจ นอกจากนี้ศักยภาพของบุคลากรในการถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหาร ให้คำปรึกษาเชิงธุรกิจล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักวิจัย ที่มีประสบการณ์ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการใหม่มีความมั่นใจในการจัดตั้งธุรกิจ และ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ฯ จึงมีเป้าหมายที่สำคัญที่จะสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่ประสบความสำเร็จ เผยแพร่ความรู้ให้กับอาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้ที่สนใจเป็นผู้ประกอบการ ส่งเสริมนำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทั้งในด้านการผลิต การบริการจัดการตอบสนองธุรกิจในเขตชุมชน ภูมิภาค และสามารถขยายตัวในระดับประเทศได้ นอกจากนี้ยังประกอบไป Neo Entrepreneur Origindtion Club เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินกิจการ และทำกิจกรรมร่วมกัน

  •              ดังนั้น การจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา จึงเป็นโอกาสอันดีในการส่งเสริมนักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ และบุคคลทั่วไปให้พร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความรู้ในเชิงธุรกิจกับองค์กรภาครัฐ และเอกชน ส่งเสริมให้สามารถเป็นผู้ประกอบการที่พร้อมทั้งด้านวิชาการ และด้านบริการ นำไปสู่บริษัทเริ่มต้น (Start-up company) ที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน โดยใช้วิธีฝึกอบรมบ่มเพาะ และให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้มีความแข็งแกร่ง ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งนำไปสู่การกระตุ้น พัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับชาติ โดยการเอาผลงานวิจัยอันทรงคุณค่ามาประยุกต์ใช้ร่วมกับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการนำเอานวัตกรรม เทคโนโลยี และกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดเป็นผลสำเร็จในการเพิ่มคุณภาพและศักยภาพแก่สินค้าและผลิตภัณฑ์ รวมถึงธุรกิจ ให้สูงขึ้นสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดผลงานวิจัยในเชิงเชิงพาณิชย์อีกด้วย

  • วัตถุประสงค์
  •    1. เพื่อจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในมหาวิทยาลัย
  •    2. เพื่อบ่มเพาะความรู้ทางด้านธุรกิจให้แก่นักศึกษาและนักศึกษาที่จบไปแล้ว (ศิษย์เก่า) ให้พร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ต่อไปได้
  •    3. เพื่อสร้างเครือข่ายความรู้ในเชิงธุรกิจกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน
  •    4. เพื่อเป็นแหล่งฝึกทักษะของนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอน

  • กลยุทธ์การดำเนินงาน
  •    1. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยใช้หลาย ๆ วิธีการ
  •    2. จัดเตรียมความพร้อมทางด้านสำนักงานโครงการฯ
  •    3. จัดเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากร
  •    4. เชิญประชุมผู้ประกอบการในปัจจุบัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ละสายงาน เพื่อสร้างเครือข่าย UBI
  •    5. จัดหานักศึกษาและนักศึกษาที่จบไปแล้ว (ศิษย์เก่า) เพื่อเข้าร่วมโครงการ
  •    6. จัดประชุมกลุ่มใหญ่ และกลุ่มย่อย สำหรับสมาชิกของ UBI
  •    7. จัดเตรียมโครงการอบรมทางด้านธุรกิจเฉพาะทาง และแยกตามความสนใจ
  •    8. จัดตั้งชมรมนักศึกษาที่จะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่
  •    9. จัดกิจกรรมภายในชมรมให้กับสมาชิกของชมรม
  •    10. จัดตั้งชมรมผู้ประกอบการ