ข่าวประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญเข้าร่วมอบรม ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมสร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ (NEC DIPROM) แหล่งบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ขอเชิญเข้าร่วมอบรมทรัพย์สินทางปัญญา กิจกรรม การสร้างพี่เลี้ยง (Coach) ยุวผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการ
IMG-LOGO

ความเป็นมา

  •               มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้จัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สนับสนุนและส่งเสริมอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้คิดค้นและนำผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ก้าวไปสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในการนำเอาองค์ความรู้และผลงานวิจัย (Research & Development) ที่อยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยฯ มาเชื่อมโยง ให้ออกมาในเชิงพาณิชย์ ทำหน้าที่บ่มเพาะธุรกิจเพื่อให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ (Entrepreneurs) พัฒนา สู่บริษัทจัดตั้งใหม่ (Start up Companies) และเสริมสร้างศักยภาพให้เข้มแข็งทั้งด้าน Business Plan & Technology Development of Product จากสภาพแวดล้อมทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ยกระดับเป็นบริษัทเต็มรูปในอนาคต (Spin off Companies) รวมทั้งเป็นช่องทางนําผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์โดยคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาสู่กระบวนการใช้งานเชิงพาณิชย์ สร้างวงจรรายได้ ผลประโยชน์กลับสู่สถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์ (Result base) สู่เป้าหมายการพัฒนา ขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน
  •           การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศนั้น ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญ คือ การค้นคว้าวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยี การค้นคว้าและพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์ ความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนาจะเกิดได้ต้องอาศัยกลุ่มนักวิจัย นักประดิษฐ์ ที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ แหล่งทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชย์เชิงพาณิชย์ ดังนั้น ระบบการจักดารที่ดีจะสามารถพัฒนาผลงานวิจัยและการประดิษฐ์ไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นับเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องได้รับความคุ้มครอง หลายประเทศเน้นประโยชน์และผู้ได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับประเทซไทย ผลงานสร้างสรรค์โดยคนไทย เพื่อรับการจดสิทธิบัตร/ อนุสิทธิบัตรยังมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย ประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ การช่วยเหลือในการจดสิทิบัตร การส่งเสริมพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ เข้าสู่ตลาด
  •             โดยเป็นที่ประจักษ์กันดีว่า เศรษฐกิจระดับชุมชนและภูมิภาคเป็นภาคเศรษฐกิจฐานราก ที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ในปัจจุบันเศรษฐกิจชุมชนในภาพรวม มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยกำลังได้รับการผลักดันให้เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชาชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ชุมชน อย่างไรก็ตามในระดับจุลภาคความสำเร็จของเศรษฐกิจชุมชนในแต่ละชุมชนค่อนข้างแตกต่างกันตามฐานทุนของชุมชนและศักยภาพในด้าน การประกอบการเชิงธุรกิจ อาทิเช่น การจัดการองค์กร การเงิน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด เป็นต้น ตลอดจนคุณภาพของงานฝีมือและการใช้เทคโนโลยีร่วม ฉะนั้นประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสนองตอบความต้องการของตลาดอย่างรวดเร็ว ในภาวะที่มีการแข่งขันที่รุนแรง และความเสี่ยงสูงเพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ที่เคยมีมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การตอบสนองความต้องการทางการค้าต่อตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นั้น มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่สำคัญ และเป็นการกระจายความเสี่ยงของการขยายตัวในเศรษฐกิจระดับมหภาค ทดแทนการพึ่งพาบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้น การพัฒนาและส่งเสริมให้ธุรกิจ SMEs มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพสินค้าและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ จึงเป็นแนวทางที่หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จะสามารถเข้ามีส่วนร่วมเป็นกลไกหนึ่งเพื่อพัฒนาธุรกิจในเขตภาคเหนือตอนล่างให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยจะเน้นการสร้างธุรกิจที่จะทำให้เกิด แรงบันดาลใจและจิตวิญญาณ (Entrepreneurial Spirit) ของการเป็นผู้ประกอบการ อีกทั้งการนำเอาระบบการบริหารจัดการ (Organization & Management System) มาใช้แก่ นักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ บุคลากร และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในการบ่มเพาะกับหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจฯ เพื่อให้เกิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Entrepreneurs) ที่มีศักยภาพต่อไป
  •           ดังนั้น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงมีแนวคิดในการส่งเสริมอาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และผู้ประกอบการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้เป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ที่มีศักยภาพ โดยจะนำเอาองค์ความรู้และผลงานวิจัย (Research & Development) ที่อยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยฯ มาเชื่อมโยงให้ออกมาในเชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการนำไปสู่ การสร้างผลงานวิจัย และนวัตกรรมใหม่ๆ อันจะส่งผลให้เป็นการกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ซึ่งการนำผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์อันทรงคุณค่ามาประยุกต์ใช้ร่วมกับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดเป็นผลสำเร็จ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ รวมถึงธุรกิจให้สูงขึ้นจนสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ